19 May 2022
Blog
Results 37 to 48 of 445
24 March 2022
Breaking the consensus: Russia clashes with other UN CND Member States
Tensions flared between CND Member States as Russia and Latvia clashed over leadership of financial and governance working group overseeing UNODC's work.
23 December 2021
Thailand reforms drug laws to reduce impacts of criminal justice system
Recent policy developments suggest an acknowledgement of the need to pare down the harmful impacts of punitive drug policies, but fall short from embracing international standards.
3 November 2021
Law enforcement trained on shifting roles as Ghana's drug policy pivots toward health and rights
Ghana's model of depenalisation means that police officers will retain enforcement powers, but responses will hinge on administrative penalties and diversion.
8 September 2021
Beyond drugs and drug policy: Towards transformative Indigenous liberation
Fighting the imperialist 'war on drugs' must be part of a much broader struggle to dismantle the multiple overlapping systems of oppression that have sought to despoil and disappear Indigenous communities worldwide.
18 July 2021
LGBTQI people who use drugs during COVID-19 in Thailand: Health, equality, and intersectionality
Communities already experiencing intersecting forms of marginalisation should be given special attention as the COVID-19 response continues to be rolled out.
12 July 2021
Silence costs lives: The World Drug Report 2021 and the importance of political courage
As long as UNODC continues to carefully and deliberately hold back from mentioning the harmful impact of states’ own drug policies, we cannot trust the agency to communicate all the facts.
9 June 2021
New INCB President, plus civil society dialogue on illegal financial flows and their impact on development and security
In one of her first tweets after assuming the presidency, Ms Pavadia stressed that drug control measures must respect human rights – a welcome statement that follows the INCB’s new emphasis on human rights, already assumed by her predecessor, Mr Cornelis de Joncheere.
25 May 2021
การฟื้นฟูสมรรถภาพยาเสพติดในประเทศไทย: การรักษา หรือ การลงโทษ?
การฟื้นฟูสมรรถภาพยาเสพติดในประเทศไทย: การรักษา หรือ การลงโทษ?
สงครามยาเสพติดที่รัฐบาลได้ดำเนินมานานกว่า 30 ปีมีผลกระทบร้ายแรงซึ่งแสดงให้เห็นจากอัตราการถูกคุมขังเกินศักยภาพของเรือนจำ สถานกักกัน รวมถึง "ศูนย์ฟื้นฟูสมรรถภาพยาเสพติด" ข้อมูลจากหลายประเทศที่ส่งแบบสำรวจของสหประชาชาติ United Nations เกี่ยวกับแนวโน้มทางอาชญากรรม และการดำเนินงานของระบบยุติธรรมทางอาญา(Criminal Justice Systems) แสดงให้เห็นว่า ประเทศไทยเป็นประเทศ ที่มีผู้ถูกคุมขังจากคดียาเสพติดมากที่สุดในโลก ภาครัฐกักขังผู้คนจำนวนมากที่ใช้หรือค้ายาฯทั้งเยาวชนและผู้ใหญ่ โดยส่วนมากเป็นผู้ยากจนในสถานที่ที่คนมักมองไม่เห็นความทุกข์ทรมาน ที่แย่ไปกว่านั้น เป็นการกักขังในสถานบำบัดที่แออัดและสภาพแวดล้อมไม่เอื้ออำนวยต่อการรักษา โดยเรียกโครงการเหล่านี้ว่าการ“ฟื้นฟูสมรรถภาพยาเสพติด” ผู้ที่กำลังมองหาการรักษาอาการพึ่งพายาเสพติดไม่ควรถูกบีบบังคับให้เข้าร่วมโครงการใดๆ หรือถูกกักขัง การใช้ยาเสพติดหรือพึ่งพาสารเสพติดไม่ควรเป็นเหตุได้รับโทษ
บทความนี้จะนำเสนอแนวทางการจัดการการพึ่งพายาเสพติด ในแง่ของนโยบายและการปฏิบัติในประเทศไทย ส่งผลถึงจำนวนผู้ถูกคุมขังในเรือนจำและการบำบัดฟื้นฟูยาเสพติด (ย่อเป็นระบบ "บำบัดยาเสพติด" ในบทความนี้) บทความนี้จะสะท้อนถึงผลกระทบโดยสรุปประสบการณ์ของคนกลุ่มหนึ่งที่ผ่านโครงการบำบัดยาเสพติดในช่วงไม่กี่ปีที่ผ่านมา และให้ข้อเสนอเเนะสำหรับการพิจารณาโดยหน่วยงานภาครัฐที่รับผิดชอบในการจัดการการพึ่งพายาเสพติดในประเทศไทย
จากรายงานกรมราชทัณฑ์ พบว่ามีผู้ต้องโทษในคดีเกี่ยวกับยาเสพติดทั้งหมดประมาณ 247,727 คน ซึ่งคิดเป็น ร้อยละ 80 ของจำนวนคนทั้งหมดที่ถูกคุมขังในปี 2563 (ตั้งแต่เดือนมกราคมถึงตุลาคม) เรือนจำในประเทศไทยมีจำนวนผู้ถูกคุมขังติดอันดับหกของโลกและเป็นประเทศที่มีนักโทษสูงที่สุดในอาเซียน เรือนจำในประเทศไทยนั้นสามารถรองรับผู้ต้องขังได้เพียง 120,000 คนเท่านั้น อย่างไรก็ตามในปี 2562 ยังมีผู้ถูกคุมขังในเรือนจำมากกว่า 300,000 คนซึ่งเกินความจุของเรือนจำถึง 200% ในปี 2563
ในปีเดียวกัน ดร.กิตติพงษ์ กิตยารักษ์ ผู้อำนวยการสถาบันเพื่อการยุติธรรมแห่งประเทศไทย ได้ให้สัมภาษณ์กับ THE NATION ว่า: “แม้ว่าประเทศไทยจะมีผู้ต้องขังจำนวนมากที่สุดในกลุ่มประเทศอาเซียน แต่ก็ไม่ได้หมายความว่ามีอัตราการก่ออาชญากรรมสูงสุด แต่สิ่งนี้สะท้อนให้เห็นถึงปัญหาบางประการในกระบวนการยุติธรรม การเพิ่มขึ้นของจำนวนผู้ต้องขังเกิดจากการแก้ไขกฎหมายยาเสพติดซึ่งเข้มงวดมากจนใครก็ตามที่เกี่ยวข้องกับยาบ้าจะต้องถูกคุมขังในเรือนจำ”
ทางออกของหนึ่งปัญหาเปิดประตูไปสู่ปัญหาใหม่
ในปี 2544 รัฐบาลได้พยายามแก้ไขปัญหาผู้ต้องขังล้นเรือนจำ โดยย้ายผู้ที่ใช้ยาเสพติดไปที่ "ศูนย์ฟื้นฟูสมรรถภาพผู้ติดยาเสพติด" ซึ่งลดจำนวนผู้ต้องขังจาก 240,000 คนเป็น 160,000 คน ตั้งแต่นั้นมาปัญหาใหม่ก็ได้เกิดขึ้นจากการที่มีผู้เข้ารับการบำบัดฟื้นฟูยาเสพติดมากเกินกว่าความจุที่ตั้งไว้ ในปี 2562 มีผู้เข้ารับการบำบัดฟื้นฟู ถึง 226,002 คน ในบางศูนย์ฯโดยเฉพาะอย่างยิ่งศูนย์ฯที่อยู่ภายใต้การดูแลของตำรวจและทหารนั้น ผู้ป่วยไม่ได้รับการรักษาจากแพทย์หรือเจ้าหน้าที่สาธารณสุขในรูปแบบใดๆ แต่ผู้ป่วยอยู่ภายใต้การดูแลของผู้คุมที่ได้รับมอบหมายเท่านั้น ซึ่งมักได้รับการปฏิบัติราวกับถูกลงโทษด้วยการจำคุก ในบางศูนย์ฯมีเจ้าหน้าที่ดูแลสุขภาพที่ได้รับการฝึกอบรมเพียงคนเดียวเท่านั้น ในความเป็นจริงอัตราที่สมเหตุสมผลสำหรับเจ้าหน้าที่ดูแลสุขภาพที่ได้รับการฝึกอบรมหรือที่ปรึกษา 1 คนควรดูแลผู้ป่วย 20-30 คนต่อวันเท่านั้น
หากผู้ใช้ยาฯถูกจับกุม(ข้อหามีสารเสพติดในร่างกาย หรือ ครอบครองยาเสพติด) หรือ ต้องการรับการบำบัดอย่างสมัครใจในระบบของรัฐ จะผ่านระบบสามประเภทนี้
1.ระบบสมัครใจบำบัด นั้นจะรับคนเข้าบำบัดด้วย 2 ช่องทาง:
ก. ผู้ที่เข้าร่วมตามความประสงค์ของตนเองหรือการแทรกแซงของครอบครัวซึ่งจะได้รับการดูแลในสถานพยาบาล หรือ
ข. คสช 108 ผู้ที่ถูกตำรวจจับกุมในข้อหาครอบครองยาเสพติดหรือหลังผลตรวจปัสสาวะเป็นบวก จากนั้นจะมีทางเลือกอยู่สองทางได้แก่: รับการบำบัดและไม่ถูกดำเนินคดี หรือ ปฎิเสธการบำบัดและถูกดำเนินคดี เมื่อผู้ป่วย ‘เลือก’ ที่จะเข้าบำบัดยาเสพติดที่รัฐบาลจัดหาให้ ในกรณีที่ผู้เข้ารับการบําบัดฟื้นฟูปฏิบัติครบถ้วนตามหลักเกณฑ์ที่เลขาธิการคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามยาเสพติดกําหนดเกี่ยวกับการบําบัดฟื้นฟู และได้รับการประเมินเป็นผู้ผ่านการบําบัดฟื้นฟู ให้เจ้าหน้าที่ผู้รับผิดชอบออกหนังสือรับรองเพื่อเป็นหลักฐาน
2.ระบบบังคับบำบัด ผู้เข้ารับการบำบัดที่มาจากการควบคุม/จับกุมและจับกุม ตามพ.ร.บ.ฟื้นฟูสมรรถภาพผู้ติดยาเสพติด พ.ศ.2545 เข้าสู่กระบวนการบำบัดรักษา
3. ระบบต้องโทษ เมื่อผู้ที่ใช้ยาเสพติดถูกจับกุมถูกควบคุมตัวตามกฎหมายและถูกตัดสินจำคุกพร้อมกับคำสั่งให้เข้าโครงการบำบัดฟื้นฟูยาเสพติดในเรือนจำ หลังจากเสร็จสิ้นโครงการบำบัดบุคคลนั้น อาจได้รับโทษจำคุกที่ลดลง
จากรายงานของ ประชาไท ในปี 2562 มีศูนย์ฟื้นฟู 90 แห่งที่ได้รับทุนจากรัฐบาล 57 แห่งอยู่ภายใต้การดูแลของเจ้าหน้าที่ทหารและตำรวจ ส่วนศูนย์ฯที่ได้รับการดูแลจากกระทรวงสาธารณสุข (สธ.) มีเพียง 20 แห่ง ซึ่งดูแลโดยผู้เชี่ยวชาญด้านการรักษาผู้ติดยาฯ ตามรายงานบนเว็บไซต์ของ กระทรวงสาธารณสุข ใน ปี2562 ศูนย์ฯ 20 แห่งที่ดำเนินการโดย กระทรวงสาธารณสุขนั้น มีประสิทธิภาพมากกว่าโดยมี "อัตราความสำเร็จ" ร้อยละ60 ในขณะที่ศูนย์ฟื้นฟูสมรรถภาพภาคบังคับมีอัตราความสำเร็จ เพียง ร้อยละ 45 แม้ว่าจะไม่มีการอธิบายคำจำกัดความของ "อัตราความสำเร็จ" แต่มีแนวโน้มว่าการให้บริการบำบัดฟื้นฟูยาเสพติดจะมีประสิทธิภาพมากขึ้นหากได้รับการจัดการโดยผู้เชี่ยวชาญด้านสาธารณสุขแทนหน่วยงานเจ้าหน้าที่ทหารและตำรวจ
วิธีการที่ศูนย์บำบัดยาเสพติดของทหารและตำรวจใช้นั้น เป็นวิธีการหักดิบจากสารเสพติดและฝึกวินัยเท่านั้น นอกจากนี้กรมราชทัณฑ์มีนักจิตวิทยาเพียง 29 คน ที่ดูแลและบริการผู้ต้องขังในเรือนจำทั้ง 142 แห่งทั่วประเทศไทย สาเหตุที่การบำบัดภาคบังคับและการบำบัดโดยสมัครใจแตกต่างกันเนื่องจากต้องพึ่งพาคำสั่งศาลเพื่อรับการรักษาจากกระทรวงสาธารณสุข หากไม่มีคำสั่งศาลจะต้องผ่านกระบวนการคัดกรองในเรือนจำซึ่งต้องผ่านระบบการบำบัดภาคบังคับผ่านศูนย์ฟื้นฟูสมรรถภาพของเรือนจำหรือตำรวจ / ทหารซึ่งไม่ใช่แนวทางที่มีประสิทธิภาพในการรักษาการติดยาฯ
จากข้อมูล“ ผลกระทบของการบังคับบำบัดสารเสพติด ต่อการหลีกเลี่ยงการรักษาพยาบาลของผู้ใช้ยาฉีดในประเทศไทย” การมุ่งเน้นไปที่การเลิกแบบหักดิบ เพียงอย่างเดียวทำให้ประสิทธิภาพและผลกระทบของการฟื้นตัวของผู้ป่วยถูกจำกัดลง จากการประเมินและทบทวนระบบบำบัดยาเสพติดของประเทศไทยสรุปได้ว่าบริการดังกล่าวไม่มีประโยชน์แม้แต่การเลิกหักดิบ ในขณะที่จำนวนผู้เข้าร่วมโครงการฟื้นฟูสมรรถภาพผู้ติดยามีจำนวนมาก“ การควบคุมและลดความเสี่ยงจากยาเสพติดในประเทศไทย” บ่งชี้ว่าการกลับมาเสพใหม่ ยังอยู่ในระดับสูง แรงจูงใจในการเข้าถึงการรักษาด้วยยายังคงอยู่ในระดับที่ต่ำ และยังมีการเลือกปฏิบัติและการละเมิดสิทธิของผู้ป่วย การกักขังแบบบังคับของการรักษาได้รับการระบุโดยหน่วยงานของสหประชาชาติ (United Nations)และผู้เชี่ยวชาญจากทั่วเอเชียว่าไม่มีประสิทธิภาพ และ ไม่ปลอดภัยสำหรับผู้ป่วยและมีค่าใช้จ่ายสูง ในขณะที่ศูนย์ดังกล่าวมักมีบุคลากรการเเพทย์ไม่เพียงพอเมื่อเทียบกับจำนวนผู้ป่วยในศูนย์
“แม้กระทรวงสาธารณสุขจะเข้าไปมีส่วนร่วมในการวางโปรแกรมบำบัดฯ และอบรมวิทยากร ท้ายที่สุดแล้ว แต่ละค่ายก็จะมีวิธีปฏิบัติตามศักยภาพและความถนัดของหน่วยงานนั้นๆ ซึ่งค่ายทหารก็จะเน้นการฝึกวินัยเสียเป็นส่วนใหญ่ ในส่วนของความรู้ในด้านการบำบัดยาเสพติดนั้นมันไม่ใช่แค่เรื่องระเบียบวินัยอย่างเดียวที่จะทำให้เลิกยาได้ ทางเราจึงต้องเข้าไปช่วยดูแลว่าจะเสริมความรู้อย่างไรบ้าง” กล่าวโดย นายแพทย์ล่ำซำ ลักขณาภิชนชัช รองผู้อำนวยการกลุ่มภารกิจด้านวิชาการและการแพทย์ สถาบันบำบัดรักษาและฟื้นฟูผู้ติดยาเสพติดแห่งชาติบรมราชชนนี โรงพยาบาลธัญญารักษ์ ในการสัมภาษณ์กับประชาไท ในปี 2561
ทำไมถึงควรต้องมีการปฏิรูปกระบวนการคัดกรองการบำบัดฟื้นฟูยาเสพติดของประเทศไทย?
ปัญหาหลักของระบบบำบัดยาเสพติดของประเทศไทยนั้น เริ่มตั้งแต่ขั้นตอนแรกในการคัดกรองว่าใครควรได้รับการบำบัดยาเสพติดประเภทใด โดยรัฐบาลได้จัดทำ“ โควต้า” ให้กับเจ้าหน้าที่ตำรวจเกี่ยวกับจำนวนคดียาเสพติดที่ต้องคลี่คลายภายในระยะเวลาที่กำหนดเอาไว้ ส่งผลให้มีการกำหนดเป้าหมายไปที่ผู้ใช้ยาเสพติดรวมถึงการตั้งด่านตรวจและสั่งให้ประชาชนเข้ารับการตรวจปัสสาวะทั้งประเทศ หากตรวจพบร่องรอยของสารเสพติดในระบบ ตำรวจสามารถจับกุมผู้นั้นได้และเสนอ 'ทางเลือก' ให้เข้าโครงการบำบัดยาเสพติด มิเช่นนั้นจะถูกดำเนินคดีในความผิดทางอาญาในข้อหาบริโภคซึ่งอาจมีโทษปรับและ / หรือจำคุกหนึ่งปี
คณินและลีโอ (นามสมมุติ) ผ่านการบำบัดโดยศูนย์ฟื้นฟูสมรรถภาพฯที่อยู่ภายใต้การดูแลของทั้งตำรวจและทหาร ทั้งสองเล่าว่าคนส่วนมากรวมถึงตนเองไม่ได้บอกความจริงในระหว่างขั้นตอนการคัดกรองเพราะถูกบังคับให้เข้ารับการบำบัดฟื้นฟูภายใต้กฎหมาย “คสช 108” นอกจากนี้ผู้ใช้อาจกลายเป็นผู้ค้ายาฯหรือที่เรียกกันว่า “เอเย่น” เสียเอง เนื่องจากได้สร้างเส้นสายกับผู้ค้ายารายใหญ่ที่ถูกกักขังภายในศูนย์เดียวกัน ซึ่งเป็นประสบการณ์ที่คณินได้พบเองทำให้ธุรกิจค้ายาของเขาเติบโตขึ้นอย่างรวดเร็วถึงสองเท่า หลังเข้ารับการบำบัดฟื้นฟูผู้เยาว์ในเรือนจำกลางคลองเปรม (กล่าวถึงในช่วงหลัง)
ในปี 2561 นายแพทย์ล่ำซำ ลักขณาภิชนชัช ได้เปิดเผยผลการวิจัยของเขา กับประชาไท ว่ามีผู้ป่วยประมาณ 100,000-300,000 คนที่อยู่ในระบบบำบัดยาเสพติดในแต่ละปี ในปี 2562 ข้อมูลจากเว็บไซต์กระทรวงสาธารณสุขรายงานว่าร้อยละ 47 หรือประมาณ 107,363 คนเป็นผู้ป่วยที่เข้าศูนย์ฟื้นฟูสมรรถภาพผู้ติดยาเสพติดเพื่อหลีกเลี่ยงการถูกดำเนินคดีที่เกี่ยวข้องกับยาเสพติด โดยขณะที่ผู้ที่สมัครใจเข้ามารับการรักษาอย่างเหมาะสมนั้นอยู่ที่ร้อยละ 24.7 หรือ 55,569 คน ซึ่งหมายความว่าในปี 2562 มีผู้ป่วยในศูนย์ฟื้นฟูสมรรถภาพยาเสพติดร้อยละ 75 หรือ 169,312 คนไม่ได้เข้ารับบำบัดอย่างสมัครใจ แต่เพื่อหลีกเลี่ยงข้อกล่าวหาทางอาญา
ในปี 2563 จำนวนคนในระบบบำบัดยาเสพติดลดลงอย่างมาก: จาก 226,002 ในปี 2562 เป็น 136,453 ในปี 2563 ซึ่งคิดเป็น 89,549 คน สาเหตุของการลดลงอย่างมีนัยสำคัญยังไม่ชัดเจน อย่างไรก็ตามเป็นไปได้ว่าได้รับผลกระทบจากการแพร่ระบาดของสถานการณ์ไวรัสโควิด-19 มาตรการเว้นระยะห่างในสังคมทำให้ศูนย์ฟื้นฟูสมรรถภาพผู้ติดยาต้องลดจำนวนการรับผู้ป่วยใหม่ลงเพื่อป้องกันการแพร่ระบาด และ ลดความสำคัญของตำรวจในการจับกุมคดีเกี่ยวกับยาเสพติดลงเล็กน้อย อีกปัจจัยหนึ่งที่ทำให้ประชากรในระบบบำบัดลดลงอาจเกิดจากการปฏิรูปตำรวจที่ดำเนินการตั้งแต่เดือนตุลาคม 2563 เพื่อให้จุดตรวจมีความโปร่งใสมากขึ้นรวมถึงยุติการสั่งให้ประชาชนเข้ารับการตรวจปัสสาวะเพื่อตรวจหาสารเสพติด
คณิน: "วงจรอุบาทว์" ที่เริ่มต้นที่ศูนย์บำบัดเด็กและเยาวชนที่เรือนจำกลางคลองเปรม
“ผมไม่รู้นะว่าการบำบัดยาเสพติดที่ดีเป็นอย่างไร แต่การบำบัดในคลองเปรมมันไม่มีอะไรดีเลย อย่าเรียกว่าบำบัดเลยดีกว่า” กล่าวโดยคณิณ(นามสมมุติ) หนึ่งในวัยรุ่นจำนวนมากที่เข้ารับการบำบัดในเรือนจำกลางคลองเปรมสำหรับเยาวชนในปี 2561 ขณะนั้นคณินใช้กัญชาและ MDMA หรือยาอี เพื่อรับมือกับปัญหาครอบครัวของเขา
วิทยากรณ์ มาพูดในศูนย์บำบัด ภาพจาก: Sarathat
ครอบครัวของเขาได้แจ้งความกับตำรวจว่าคณินขายกัญชา ในศูนย์บำบัดยาเสพติดนั้นเขาได้เจอกับการทุจริตของพัศดีหรือผู้คุมคุก เพื่อแลกกับสิทธิพิเศษ ในระหว่างนั้นเขาไม่ได้รับยาสำหรับอาการถอนยาหรือคำแนะนำจากจิตแพทย์หรือที่ปรึกษาแต่อย่างใด ยิ่งไปกว่านั้นจากประสบการณ์ของ คณิน เขาเชื่อว่าการบังคับให้ผู้คนถูกคุมขังเป็นเวลา 42 วันนั้น ไม่ได้ทำให้เขาหรือคนในนั้นมีความมุ่งมั่นที่จะเปลี่ยนแปลงแม้แต่อย่างใด ซํ้าแต่จะสร้างวงจรที่เลวร้ายกับการจับกุมซ้ำแล้วซํ้าเล่า “ผมรู้จักคนที่นั่นหลายคนที่จะออกมาจากศูนย์ไม่กี่สัปดาห์หรือไม่กี่เดือนต่อมา พวกเขาก็จะกลับมาที่เดิม” คณินกล่าว
คณินเล่าถึงการปฏิบัติที่โหดร้ายในคลองเปรม พัศดีเป็นคนที่ถืออำนาจมากที่สุดและใช้ระบบเพื่อทุจริตตามที่เขาพอใจ: “ผู้คุมเป็นเหมือนพระเจ้าในนั้น เขาจะทำร้ายเราแค่ไหนก็ได้ แต่ถ้าเราติดสินบนเขา เราจะได้สิทธิพิเศษ เขาจะดูแลเราดีขึ้น และก็จะสั่งให้เด็กวัยรุ่นข้างในช่วยดูแลเรา ไม่ให้คนอื่นมารังแกเรา เขาเเนะนำให้ครอบครัววัยรุ่นทั้งหลายโอนเงินไปที่บัญชีเขาแทนบัญชีในคุก เขาอ้างว่ามันจะถึงมือเราก่อนผ่านระบบ เราจะได้สิทธิพิเศษจากเขา เช่น อาหาร และ ขนมที่ดีกว่า และไม่ให้ใครมารังแกเรา แต่อย่างไรเราก็ต้องแบ่งอาหารหรือขนมที่ผู้คุมซื้อมาให้ กับวัยรุ่นคนอื่น ส่วนเงินที่เหลือจากนั้น ผู้คุมมักจะเอาไปแทงบอลต่อ”
คณินรู้สึกว่าประสบการณ์ของเขาในคลองเปรมไม่ได้ช่วยเขาและคนอื่น ๆ ในการแก้ไขปัญหาเบื้องหลังการพึ่งพายาเสพติดของพวกเขา “ ถ้าเป็นไปได้ผมอยากให้ทั้งระบบได้รับการปฏิรูปสิ่งที่ผมผ่านมา ไม่ถือว่าเป็นการบำบัด มันเป็นวงจรที่น่าขยะแขยง ถ้าผู้ใช้ยาเสพติดไม่ได้คิดที่จะหยุดการใช้ยาเอง มันก็ไม่มีใครที่จะช่วยผมได้”
เมื่อคณินรับการบำบัดเรียบร้อยและถูกปล่อยตัวออกมา เขามองประสบการณ์เป็นเพียงแค่การจำคุก คณินไม่มีความเชื่อมั่นต่อศูนย์บำบัดของรัฐบาลแม้แต่อย่างใด และตั้งแต่นั้นมาเขายังคงไม่เลิกการขายยา ประสบการณ์ของเขาเพียงแต่สอนให้เขาระมัดระวังตัวมากขึ้น เพื่อจะไม่ถูกจับเป็นครั้งที่สอง เขาแยกตัวออกมาจากครอบครัว และขังตัวเองอยู่ในห้องเล็กๆ ห่างไกลจากสังคมรอบข้างโดยเฉพาะอย่างยิ่งตำรวจและด่านตรวจปัสสาวะ ธุรกิจยาของเขาเติบโตขึ้นเรื่อย ๆ จากเส้นสายที่เขาสร้างขึ้นระหว่างอยู่คลองเปรม ทุกวันนี้เขายังคงใช้ยาเสพติดมากขึ้นเรื่อยๆและไม่มีแนวโน้มจะลดลงแม้แต่อย่างใด
การบังคับบำบัดที่แฝงตัวอยู่ในระบบบำบัดสมัครใจ
ในปี 2562 ผู้คนจำนวนมากได้เข้ามาในศูนย์บำบัดอย่างล้นเหลือ หลังจากการเกณฑ์ทหารประจำปีได้เริ่มตรวจปัสสาวะผู้คนที่เข้ามาจับใบดำใบแดง เพื่อหาสาร Tetrahydrocannabinol (THC) ซึ่งเป็นสารที่พบในกัญชาโดยปกติแล้วจะตรวจหาสาร methamphetamine หรือ ยาบ้า ในกรณีนี้ ผู้คนที่มีสารเสพติดในตัว จะต้องเข้ารับการบำบัดในระบบสมัครใจ หรือ โดยกฏหมาย คสช 108 ซึ่งผู้คนเหล่านี้มักจะถูกดูแลโดยตำรวจหรือทหาร โดยในศูนย์มักจะไม่ให้ยาที่ช่วยเรื่องอาการถอนยาแต่อย่างใด การบำบัดในศูนย์มักจะเป็นการหักดิบ และ กิจกรรมที่ให้ผู้ป่วยทำประกอบไปด้วย การฝึกซ้อมแบบทหารขั้นพื้นฐาน และ การร้อยลูกปัด
วิทยากรบรรยายผู้ที่ใช้ยาเกี่ยวกับพิษของยา ภาพจาก: Matichon
“คนในนั้นที่เข้าไปเจอส่วนใหญ่ก็จะเป็นชนชั้นล่างหน่อยๆ เหมือนศูนย์ที่เข้าไปถูกสร้างมาเพื่อคนพวกนี้เฉยๆ แต่ถามว่าคนพวกนั้นสมควรที่จะเข้าไปอยู่ในนั้นไหม? ก็ไม่สมควรนะ แต่ที่พยายามสื่อคือคนที่โดนบำบัด/เล่นยา คนมักจะมองคนเล่นยาเป็นคนจนหรือเป็นคนตกงาน ซึ่งมันไม่ได้เป็นความจริงเสมอไป เราสามารถประสบความสำเร็จและมีความทะเยอทะยานไม่น้อยกว่าคนอื่น” กล่าวโดย ลีโอ(นามสมมุติ) ซึ่งเป็นหนึ่งในผู้ใหญ่ที่ถูกบังคับให้เข้ารับการบำบัดในศูนย์ที่ทหารดูแลเพื่อไม่ให้มีคดียาเสพติดติดตัว ลีโอเป็นผู้ใช้กัญชาเพื่อรับมือกับภาวะซึมเศร้าและความเหงาของเขาในเชิงสันทนาการ
ลีโอไม่ได้เรียนวิชารักษาดินแดน(รด.) จึงต้องรายงานตัวเพื่อจับใบดำใบแดงแต่กลับต้องประหลาดใจเมื่อในช่วงสิ้นสุดกระบวนการจับใบดำใบแดงนั้นมีการตรวจปัสสาวะ หาสาร THC
ภาพระหว่างผู้ป่วยผ่านการคัดกลอง ภาพจาก: Khaosod
“เรานั่งกับเจ้าหน้าที่ว่ามีทางเลือกอะไรบ้าง มันก็ไม่มีทางเลือกอะไรเลย นอกจากไปเข้าค่ายบำบัด ถ้าเราหนีบำบัดก็จะโดนดำเนินคดี จริงๆ มันก็ไม่มีอะไรให้เลือกหรอก ถ้าไม่อยากมีคดีติดตัวก็ต้องไป แต่ลึกๆ เราก็รู้สึกว่าโชคดีที่ได้เข้าไปในศูนย์ที่อยู่ในกรุงเทพ เพราะพวกศูนย์ต่างจังหวัดนั้นดังเรื่องทหารทำร้ายร่างกายผู้ป่วย”
ลีโอเล่าถึงวันแรกที่ก้าวเข้าไปในศูนย์ ในขั้นตอนการคัดกรองเจ้าหน้าที่ถาม ลีโอ ว่าเขาได้รับยามาจากที่ใดและไปรับมาอย่างไร “แต่ก็ไม่มีใครรายงานตามความจริง หรอกขนาดแค่ถามว่าเรียนมหาลัยที่ไหนยังไม่บอกความจริงเลย”
จากประสบการณ์ตรงของลีโอ เขาไม่ได้มองว่าเป็นการบำบัดแม้แต่น้อย
“มันไม่ได้ช่วยอะไรเลยนะ กิจกรรมแต่ละวันจะมีวิทยากรมาสอนร้อยลูกปัด เผื่อออกไปแล้วไม่มีงานทำจะได้ร้อยลูกปัดขาย เขาคิดแบบนั้นกันจริงๆ บางทีก็มีวิทยากรมาสอนเกี่ยวกับยาเสพติด แบบที่เคยได้ยินมาตลอดว่ามันไม่ดีอย่างนั้นอย่างนี้ เขาก็ไม่ได้เฉพาะเจาะจงว่ายาอะไรแย่กว่ากันนะ เขาจะเหมารวมยาทุกชนิดว่าไม่ดี และก็ให้จำชื่อทหารดังๆหลายๆคน เค้าจะชี้รูปและถามชื่อ และเราก็ต้องขานชื่อทหารนายนั้น 3 ที “ปรีดี พนมยงค์ ปรีดี พนมยงค์ ปรีดี พนมยงค์” ลีโอเล่าพร้อมหัวเราะ
“สองสามวันครั้ง ก็จะไปคุยกับหมอ วัดอุณภูมิความดัน ถามว่าเป็นอย่างไรบ้าง แต่ถึงจะบอกว่าไม่ชอบ เขาก็ช่วยอะไรไม่ได้หรอก เหมือนเป็นหนึ่งในกระบวนการที่เขาต้องทำอยู่แล้ว ไม่มีถามเชิงลึกว่าใช้ทำไม ต้องแก้อย่างไร”
ผู้ป่วยนั่งเป็นวงกลม รับฟังการบรรยาย : ภาพจาก: Khaosod
เคราะห์ดีสำหรับลีโอที่เขาไม่ถูกทำร้ายร่างกายเหมือนในศูนย์บำบัดคลองเปรมของคณิน เขาเล่าว่าทหารพี่เลี้ยงนั้นใจดีและเคารพสิทธิของพวกเขา เนื่องจากทหารพี่เลี้ยงนั้นเป็นทหารถูกเกณฑ์มาเมื่อหลายปีก่อนเหมือนกับการที่ลีโอถูกบังคับให้เข้ารับการฟื้นฟู พวกเขาจึงเห็นอกเห็นใจกัน นอกจากนี้ลีโอได้กล่าวว่าทหารนั้นไม่มีการรับสินบนเมื่อเทียบกับพัศดีที่คุมคุกของคณิน อย่างไรก็ตามผู้ป่วยยังได้รับการปฏิบัติที่ไม่ดีจากหัวหน้าศูนย์ฯ
“คนที่นิสัยไม่ค่อยดีจะเป็นทหารที่คุมศูนย์มากกว่า มุมมองของเขากับคนที่มาเข้าบำบัดมันแย่มาก เขาไม่เห็นว่าเราเป็นคนด้วยซํ้า คนคุมศูนย์จะชอบใช้ คนบำบัดไปช่วยขายของ ใน gift shop ของศูนย์ บางทีตอนเอาเสื้อผ้าใหม่มาให้ ก็จะปาลงพื้นแทนที่จะส่งให้ธรรมดา เวลาเขาเเจกขนมให้เราเขาจะรู้สึกดีใจออกหน้าออกตาเหมือนกับเด็กให้อาหารสัตว์ในสวนสัตว์ เขาคิดว่าเขาเป็นพระเจ้า เขามองเราตํ่ามาก แต่อย่างน้อยก็ไม่เคยเห็นทหารมาทำร้ายร่างกายคนบำบัดนะ”
เมื่อถามลีโอว่า มุมมองของสถานบำบัดนี้เป็นอย่างไร เขาตอบว่า “มันเป็น 10 วันที่แย่มาก นั่งนับวันกันทุกคน คนที่ดูแลศูนย์ต้องเลิกมองว่าขี้ยาแล้วไม่ทำงาน หรือแม้แต่ ใช้ยาแล้วจะไม่มีงานทำ มันก็มีคนที่ใช้ยาแล้วมี อาชีพที่ดี และมั่นคง ไม่ต่างจากคนอื่นๆในสังคม มิหนําซํ้าเอาเขามากักตัวแบบนี้เขาก็เสียรายได้อีก ส่งไปศูนย์บำบัดเอกชนคงจะดีกว่า แบบนี้ไม่ได้ผลเลย”
หลังได้รับการบำบัดฟื้นฟู ลีโอจบการศึกษาจากหนึ่งในมหาวิทยาลัยที่มีชื่อเสียงที่สุดในประเทศไทย ปัจจุบันเขาทำงานใน บริษัท เทคโนโลยี ในฐานะผู้พัฒนาแอปพลิเคชันและเว็บไซต์ และยังคงใช้กัญชาเพื่อพักผ่อนหย่อนใจหลังเวลาเลิกงาน
ประสบการณ์ที่ดีกับการบำบัดยาเสพติดในสถานพยาบาล
มายา กับหนึ่งในสตูดิโอของ BANG BAHT, ภาพจาก จิรภาส ลิมอักษร
มายา ปิยาพัน หรือ ปลาวาฬ หนึ่งในโปรดิวเซอร์ของ BANG BAHT (แบงค์บาท) และ ผู้ก่อตั้ง WARP GANG ซึ่งเป็นช่อง YouTube ที่ทำข่าวเกี่ยวกับดนตรีฮิปฮอป เป็นหนึ่งในคนที่เปิดกว้างเกี่ยวกับการใช้ยาเสพติดและสุขภาพจิตของเขามาโดยตลอด เมื่องานเกี่ยวกับดนตรีของเขาเริ่มมีชื่อเสียงขึ้น เขาจึงตัดสินใจว่าถึงเวลาเอาชนะอาการเสพติดของเขา โดยเลือกรับการรักษาที่โรงพยาบาล พระมงกุฏ
มายาตัดสินใจด้วยตัวเองเพื่อเอาชนะภาวะเสพติดของเขา ซึ่งเป็นปัจจัยสำคัญประการหนึ่งที่ทำให้เขาเอาชนะการเสพติดได้ เมื่อเทียบกับคนอื่นที่ให้สัมภาษณ์: ผู้ที่ถูกบังคับเข้าศูนย์ฟื้นฟูสมรรถภาพโดยไม่ได้เต็มใจแสดงถึงผลลัพธ์ที่แตกต่างกันอย่างสิ้นเชิง
มายา หรือ ชื่อเล่นว่า ปลาวาฬ ภาพจาก จิรภาส ลิมอักษร
“เพราะว่าเริ่มมีงานเข้ามาจริงจัง แล้วทุกอย่างที่เราทำเล่นๆเมื่อก่อนเดี๋ยวนี้ได้เงิน มันต้องมีความรับผิดชอบมากขึ้น เราก็รู้สึกว่าเราจะเป็นแบบนี้ไม่ได้เเล้วเพราะมันเสียการเสียงาน ก็เลยเข้าไปบำบัด” กล่าวโดย มายา
“คนที่ดูแลที่นั้นเป็นแพทย์/พยาบาลที่เป็นทหาร ที่ทำงานกับมหาลัยสักมหาลัยนึง และเขาทำงานร่วมกับโรงพยาบาลพระมงกุฏ บุคลากรในนั้นมี background ทาง แพทย์เกือบหมด ตอนกลางคืนเมื่อหมอทำงานในโรงพยาบาลเสร็จก็ขึ้นมาคุย ให้เวลาคุย 30 นาที ถึง ชั่วโมงนึง ซึ่งมันก็ดีนะ”
เมื่อถามว่า เขาชนะอาการเสพติดยาได้อย่างไร มายาได้ตอบกลับว่า “การบำบัดที่ดีคือการรับฟังเเละเข้าใจ โชคดีที่เข้าไปแล้ว หมอกับพยาบาล เข้าใจนะ ไม่เหมือนที่รุ่นน้องไป พวกนั้นอะปิดกล้องวงจรปิดกระทืบเลย พวกศูนย์หลวงที่ไม่ใช่ของรัฐ”
มายา และเพื่อนร่วมงาน ภาพจาก: Facebook
มายา พอใจกับประสบการณ์ของเขาภายใต้การดูแลของเจ้าหน้าที่ที่ผ่านการฝึกอบรม “ได้ผลนะ ได้ผลจัดเลย จากที่ต้องสูบตลอดก็เป็นสูบกัญชานานๆ ที แทน จริงๆก็ไม่ได้สูบเลย แต่มีอะไรอยากเปลี่ยนไหม? รู้สึกว่าเขาไม่ได้มีเวลาดูเเลผู้ป่วยทุกคนจริงๆ เพราะฉะนั้นการไปบำบัดในโรงพยาบาลอาจจะไม่ได้เป็นทางออกขนาดนั้นตราบใดที่ยังมีข้อจำกัดพวกนี้”
หลายสิบปีกับการจองจำผู้เสพฯ ถึงเวลาที่จะต้องใช้แนวทางใหม่หรือไม่?
การบำบัดยาเสพติดนั้นได้รับการพิสูจน์แล้วว่าเป็นประโยชน์ต่อผู้ที่กำลังประสบปัญหาการพึ่งพายาเสพติดที่ทำให้พวกเขาไม่สามารถใช้ชีวิตได้อย่างปกติ แต่ไม่ได้หมายความว่าทุกคนที่ใช้ยาจะต้องได้รับการแทรกแซงจากรัฐบาล หรือ ผู้บังคับใช้กฎหมาย จากรายงานของสำนักงานว่าด้วยยาเสพติดและอาชญากรรมแห่งสหประชาชาติหรือ UNODC เผยว่ามีเพียงร้อยละ 10 ของผู้ที่ใช้ยาทั้งหมดเท่านั้นที่พึ่งพายาฯ เป็นผลให้มีผู้ใช้ยาฯเพียงส่วนน้อยเท่านั้นที่อาจต้องการหรือได้รับประโยชน์จากการบำบัดยาเสพติดหรือการฟื้นฟูสมรรถภาพ
ดังนั้นการตัดสินใจควรเป็นของผู้ที่ใช้ยาฯเอง ว่าต้องการหยุดใช้หรือไม่ ไม่ว่าจะต้องการการบำบัดฟื้นฟูยาฯบางประเภทหรือบริการอื่นๆ สำหรับมายา การตัดสินใจของเขาเองเป็นวิธีแก้ไขปัญหาการพึ่งพายาเสพติด การตัดสินใจเลิกใช้ยาฯควรกระทำโดยผู้ใช้ไม่ใช่ผู้อื่น
ประสบการณ์ของลีโอและคณินแสดงให้เห็นว่าการบังคับให้พักฟื้นเป็นเพียงการจำคุกอีกรูปแบบหนึ่งและไม่มีประสิทธิผลในการช่วยให้พวกเขาจัดการกับอาการพึ่งพายาเสพติด ในความเป็นจริงคงจะดีกว่าหากไม่มีการบังคับบำบัด คณินคงไม่ถลำลึกไปกับยาเสพติดมากกว่าเดิมหากเขาไม่ได้เส้นสายที่ได้มาจากการเข้าไปอยู่ในระบบบำบัดนี้ ในทางกลับกันลีโอไม่เคยมีปัญหาจากการใช้ยาฯของเขา เพราะเขาใช้ยาฯเพื่อการพักผ่อนหย่อนใจหลังการเขียนโปรแกรมและการเรียนทั้งวัน ระบบบำบัดจึงเป็นการเสียเงินภาษีและเวลาของเขาไปโดยเปล่าประโยชน์
เมื่อการใช้ยาเสพติดและการครอบครองเพื่อการใช้ส่วนบุคคลเป็นอาชญากรรม เงินของผู้เสียภาษีจำนวนมากถูกนำไปสนับสนุนกระบวนการยุติธรรมทางอาญาและการแทรกแซงการบังคับใช้กฎหมายแม้ว่าวิธีการเหล่านี้พิสูจน์ซ้ำแล้วซ้ำเล่าว่าไม่ได้ผลในการป้องกันการใช้และการจัดหายา The International Drug Policy Consortium จึงแนะนำว่านโยบายยาเสพติดควรอยู่บนพื้นฐานของหลักฐานที่มีรูปธรรมมากที่สุด ด้วยเหตุนี้รัฐบาลไทยควรตั้งกฎหมายและนโยบายยาเสพติด โดยพิจารณาจากปัจจัยต่างๆเช่น ต้นทุนสัมพัทธ์และความคุ้มทุนของแนวทางต่างๆในการควบคุมยาเสพติด ความแตกต่างระหว่างความต้องการของผู้ที่พึ่งพายาเสพติดเมื่อเทียบกับผู้ที่ใช้ยาฯเป็นครั้งคราวและเพื่อการพักผ่อนหย่อนใจความจำเป็นในการเสนอทางเลือกในการรักษาการพึ่งพายาฯที่หลากหลาย (รวมถึงการ ล้างพิษ การฟื้นฟู การดูแลด้านจิตใจ และ การช่วยเหลือจากผู้ป่วยกันเอง หรือ Peer support)
จากการหารือของผู้มีส่วนได้ส่วนเสียของรัฐบาลรวมถึงรัฐมนตรีว่าการกระทรวงยุติธรรมในปี 2559 ประเทศไทยจำเป็นต้องพิจารณาการลดโทษทางอาชญากรรมเกี่ยวกับยาเสพติด(Drug Decriminalisation)ที่เกี่ยวกับการใช้และการครอบครองยาเสพติดปริมาณเล็กน้อย เพื่อช่วยลดการใช้เงินของผู้เสียภาษีโดยเปล่าประโยชน์ และผลกระทบที่เสียหายของกระบวนการยุติธรรมทางอาญาโดยเฉพาะการบังคับใช้กฎหมายต่อประชาชน การประหยัดค่าใช้จ่ายสามารถลงทุนในการจัดเตรียมการรักษาด้วยยา และ การลดอันตราย(Harm reduction) และบริการด้านสุขภาพและสังคมอื่นๆ สำหรับผู้ที่ใช้ยาเสพติดและในชุมชนอย่างเพียงพอ นี่คือสิ่งที่ต้องการอย่างแท้จริงในประเทศไทยซึ่งมีผลกระทบต่อทุกหย่อมหญ้าของสังคม
19 May 2021
The 64th Session of CND: ‘An African war on Africa’
A minority of African nations with diplomatic representation in Vienna has stifled the continent's voice for progressive drug policy reform.
6 May 2021
The UN drugs debate goes virtual: Greater inclusion but common divisions
The ever flimsy veil of consensus continues to fall away as the weight of the damage and failure of punitive drug policies becomes ever more undeniable.
27 April 2021
INCB’s busy spring: Elections, the 2020 annual report, and CND
IDPC provides an overview of INCB activities over the past quarter.